วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศัพท์ OM


Economies of scale (การประหยัดจากขนาดการผลิต)
การลดลงของต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสืบเนื่องจากการขยายขนาดการผลิตของหน่วยผลิต หรืออีกนัยหนึ่งคือ การที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต การประหยัดจากขนาดอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ตัวอย่างการประหยัดจากขนาดที่เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตปัจจัยการผลิตทำให้ราคาของปัจจัยการผลิตลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าที่ใช้ปัจจัยการผลิตเหล่านั้นต่ำลงด้วย ส่วนการประหยัดจากขนาดอันเกิดจากปัจจัยภายในนั้น ยกตัวอย่าง เมื่ออุตสาหกรรมมีการขยายตัวสามารถผลิตสินค้าในปริมาณมากขึ้น จะเกิดการประหยัดต่างๆ เช่น การประหยัดทางด้านแรงงาน การประหยัดทางด้านการจัดการและการตลาด เป็นต้น ในทางตรงข้ามการไม่ประหยัดจากขนาด (diseconomies of scale) อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
อนึ่ง การประหยัดจากขนาด แตกต่างจากผลได้ต่อขนาด (returns to scale) การประหยัดจากขนาดเป็นการพิจารณาผลที่เกิดกับต้นทุนเฉลี่ย ซึ่งมีสาเหตุสืบเนื่องจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ส่วนผลได้ต่อขนาดเป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงผลผลิตกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยภายในหน่วยผลิตเท่านั้น
Returns to scale, constants; returns to scale, increasing; returns to scale, decreasing (ผลตอบแทนจากการขยายขนาดการผลิตเแบบคงที่ หรือเพิ่มขึ้นหรือลดลง)
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตเมื่อมีการเพิ่มปัจจัยการผลิตทุกชนิด (รวมทั้งปัจจัยทุน) ในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะในการผลิตระยะยาว (long run) ปริมาณผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจแบ่งเป็น 3 กรณี คือ
(1) ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกันกับปัจจัยการผลิตที่เพิ่ม เรียกว่า "ผลตอบแทนต่อขนาดคงที่" (constant returns to scale)
(2) ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนน้อยกว่าปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า "ผลตอบแทนต่อขนาดลดลง" (decreasing returns to scale)
(3) ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนมากกว่าปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า "ผลตอบแทนต่อขนาดเพิ่มขึ้น" (increasing returns to scale)
อนึ่ง ผลตอบแทนต่อขนาดต่างจากการประหยัดจากขนาด (economies of scale) กล่าวคือ ผลตอบแทนต่อขนาดเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปัจจัยการผลิตทุกชนิดในสัดส่วนเดียวกัน ส่วนการประหยัดจากขนาดเกี่ยวข้องทั้งการเพิ่มปัจจัยการผลิต (ไม่จำเป็นต้องในสัดส่วนเดียวกัน) และการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีด้านต่างๆ ด้วย
Globalization (โลกาภิวัตน์)
โลกอันมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล แต่ละส่วนอยู่ห่างกันด้วยพื้นที่ (เทศะ หรือ space) แตกต่างกันด้วยเวลา (กาล หรือ time) สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิดเสมือนหนึ่งอยู่ใกล้กัน โดยผ่านระบบสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพด้วยดาวเทียมและใยแก้วนำแสง กระบวนการโลกาภิวัตน์นี้ทำให้อิทธิพลจากที่หนึ่งแพร่ไปสู่ส่วนอื่นของโลกในอัตราความเร็วสูง ในด้านเศรษฐกิจ ข่าวสาร การเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่อิทธิพลจากประเทศที่เข้มแข็งไปสู่ประเทศที่อ่อนแอ

Mass production (การผลิตจำนวนมาก)
การผลิตจำนวนมากเกิดจากการใช้วิทยาการด้านการจัดการมาใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยแบ่งกระบวนการผลิตสินค้าออกเป็นขั้นตอนต่างๆ กำหนดมาตรฐานของแต่ละขั้นตอน และแบ่งกลุ่มแรงงานให้แต่ละกลุ่มทำเฉพาะขั้นตอนนั้นๆ
Factor of production (ปัจจัยการผลิต)
ทรัพยากรที่หน่วยผลิตนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
ที่ดิน มีความหมายรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด อาทิ น้ำ ดินฟ้าอากาศ แร่ธาตุ ป่าไม้ ฯลฯ
แรงงาน หมายถึงทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานและก่อให้เกิดสินค้าและบริการ ซึ่งรวมทั้งแรงงานที่ใช้กำลังกายและ/หรือกำลังความคิด
ทุน หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจัก อุปกรณ์ทุ่นแรง โรงงาน สิ่งก่อสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
ผู้ประกอบการ คือผู้ที่ตัดสินใจรวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ผลิตสินค้า และยังเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตนั้น
เนื่องจากปัจจัยการผลิตมีอยู่อย่างจำกัด จึงมีสิ่งตอบแทนให้กับการใช้บริการของปัจจัยเหล่านั้น ที่ดินได้ผลตอบแทนในรูปของค่าเช่า แรงงานได้รับค่าจ้าง ทุนได้รับดอกเบี้ย และผู้ประกอบการได้กำไร
Allocation of resources (การจัดสรรทรัพยากร)
การโยกย้ายทรัพยากรจากการผลิตหนึ่งไปสู่อีกการผลิตหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด นอกจากนี้ยังหมายถึงการโยกย้ายงบประมาณจากการบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งไปสู่การบริโภคสินค้าอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้ความพอใจสูงสุด นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเชื่อว่า การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นต้องผ่านระบบราคา ทรัพยากรจะเคลื่อนย้ายจากผู้ให้ค่าตอบแทนต่ำกว่าไปยังผู้ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ตลาดผลผลิตและตลาดปัจจัยการผลิตจะต้องมีการแข่งขันสมบูรณ์
เงื่อนไขที่แสดงถึงการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การที่ผลผลิตส่วนเพิ่ม (marginal product) จากการใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าต่างๆ มีค่าเท่ากัน ในทางตรงกันข้ามตลาดผลผลิตและตลาดปัจจัยการผลิตที่มีการผูกขาด จะทำให้การใช้ปัจจัยการผลิตไม่บรรลุประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลผลิตส่วนเพิ่มดังกล่าวมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิ การขาดสารสนเทศ การใช้อำนาจต่อรองในทางไม่เหมาะสมของสหภาพแรงงาน ลิขสิทธิ์ และปัจจัยอื่นทางด้านสังคม





Acquisition (การเข้าซื้อกิจการ)
การที่บริษัทหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือเข้าควบคุมบริษัทอื่นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากการควบรวมธุรกิจ (Merger) คือการเข้าซื้อกิจการไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมบริษัท (Amalgamation) หรือการควบรวมธุรกิจ (Merger) แต่เป็นการรวมสินทรัพย์ของทุกบริษัทจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ (Consolidation) แม้ว่าการเข้าซื้อกิจการจะมีการเปลี่ยนการเข้าควบคุมโดยสิ้นเชิง แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องอาจจะยังดำเนินการเป็นอิสระอยู่ แม้กระนั้นการควบคุมบริษัทร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุด และเป็นเรื่องที่องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันให้ความสนใจ
Accounts Receivable (บัญชีลูกหนี้การค้า)
คือ จำนวนเงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการกับองค์กรธุรกิจ บัญชีลูกหนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการส่งสินค้าให้กับลูกค้าก่อนแล้วเรียกเก็บเงินทีหลัง วิธีนี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจ โดยปกติมีระยะเวลาการให้ชำระเงินตั้งแต่ 10 วัน ไปจนถึง 90 วันก็มี แล้วแต่ชนิดและขนาดของธุรกิจนั้นๆ
Accounts Payable (บัญชีเจ้าหนี้การค้า)
คือ บัญชีหนี้สินหรือรายจ่ายขององค์กรธุรกิจ ตามปกติบัญชีเจ้าหนี้การค้าเกิดจากการซื้อสินค้าและบริการประจำวันขององค์กรธุรกิจ ที่ไม่จำเป็นต้องชำระเงินทันที่ได้รับสินค้า แต่อาจชำระภายหลังจากที่ได้รับสินค้าแล้วเป็นเวลา 10-90 วัน แล้วแต่กรณี
Amortization of debt (การผ่อนชำระหนี้)
การชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยโดยแบ่งเป็นงวดๆ ปกติการผ่อนชำระหนี้ใช้สำหรับสินเชื่อที่มีระยะชำระคืนนานกว่า 1 ปี และมีมูลค่าหนี้สูงเมื่อเทียบกับฐานะการเงินของลูกหนี้ การชำระหนี้เป็นงวดนิยมใช้ในกรณีสินเชื่อเพื่อการเคหะ ซึ่งมีระยะการชำระหนี้นานนับสิบๆ ปี

กลยุทธ์


1. การกำหนด Strategic เกิดขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอน
2. การกำหนด Strategic ควรมีทั้ง Top Down และ Bottom Up
ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน หมายถึง ความสามารถที่จะทำได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน Strategy จะเป็นผลลัพธ์ของการวางแผน
การกำหนดกลยุทธ์มักทำจากผู้บริหารระดับสูง (อาจจะทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ ควรจะมีส่วนร่วมจากผู้บริหาร
ระดับล่างด้วย) เช่น ผู้บริหารบางคนกำหนดกลยุทธ์โดยการเปรียบเทียบกับแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง (เปรียบเทียบกับแนวคิด
โดมิโน) อาจมีการบริหารอย่างมีอคติ ทำให้ล้มเหลวได้
Concept ของการบริหารกลยุทธ์จะใช้ Management เข้ามาใช้มาก
ข้อบกพร่องของการกำหนดกลยุทธ์ คือ ผู้บริหารมีการรู้คิดอย่างอคติ (Bias) เช่น มีการเปรียบเทียบแนวความคิด
Case การเข้าสู่สงครามเวียดนามของสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯเปรียบเทียบแนวคิดแบบโนมิโน คือ เมื่อเวียดนามเป็น
คอมมิวนิสต์ Asian ก็จะเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย
บทที่ 1 กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์
1. การกำหนดภารกิจและเป้าหมายที่สำคัญ
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม – การวิเคราะห์ภายนอก - การวิเคราะห์ภายใน
3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
4. การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation) หัวข้อที่สำคัญคือ การออกแบบโครงสร้างองค์กร
5. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control)
ขั้นตอนที่ 1
การกำหนดภาระกิจ หมายถึง การให้คำนิยามทางธุรกิจของบริษัท (Definite Mission) เป็นการตอบคำถามว่าธุรกิจขององค์กรคือ
อะไร? องค์กรหรือเราคือใคร?
Vision หรือวิสัยทัศน์ จะต่างกับภาระกิจคือ Vision จะมุ่งที่อนาคต โดยทั่วไปแล้วการเขียน Mission จะนำ
Vision
Mission จะมุ่งที่ปัจจุบัน เข้าไปรวมอยู่ด้วย
เหตุผลที่ต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อการบันดาลใจบุคคล วิสัยทัศน์จะถ่ายทอดความมุ่งมั่นเชิงกลยุทธ์ที่ทะเยอทะยาน ทำให้กลายเป็น
บริษัทชั้นนำ
ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ใช้ Assembly Line ในการผลิตรถยนต์จำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง
Case Boeing เขียน Mission ว่า “Boeing ต้องการเป็นผู้ผลิตเครื่องบิน No.1 in the world” (คือ Vision)
Case UNOCAL ผู้ผลิตน้ำมัน เขียน Mission ว่า “Unocal ต้องการเป็นบริษัทข้ามชาติที่ดีที่สุด”
Mission ที่เขียนว่า No.1, The Best หมายถึง บริษัทต้องการจะถ่ายทอด Vision
Vision จะถ่ายทอดความทะเยอทะยาน, ความมุ่งมั่น ของบริษัท
สรุปวิชา GB610 Strategic Management
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 2 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
เป้าหมายสูงสุด (Strait Goal) ที่กำหนดโดย Jack Well (GM ของ General Electric) โดย Jack
Well กำหนดให้ GE ดำเนินกลยุทธ์ภายใน No.1 หรือ No.2 หมายถึง ถ้า GE ทำธุรกิจใดจะต้องอยู่บนพื้นฐาน
Market Share อันดับ 1 หรือ 2 เท่านั้น ถ้าไม่ใช่จะมีทางเลือกเพียง 3 ทางเท่านั้น คือ 1. แก้ไข 2. ขาย
3. ปิดกิจการ Strait Goal จะถือว่าเป็น Extra Ordinary Goal เป็นเป้าหมายที่แตกต่างจากธรรมดา
ทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้น Jack Well ยังได้สร้างมาตรฐานคุณภาพที่สูงที่สุดในโลกคือ Six Sigma หมายถึง การผลิต
สินค้า1 พันล้านชิ้น จะต้องมีของเสียไม่เกิน 3 –4 ชิ้น ถือว่าเป็นมาตรฐานที่สูงที่สุดเทียบเท่ากับ Zero Deflect ของ
ญี่ปุ่น
Case Xerox เป็นผู้นำการตลาดทางเครื่องถ่ายเอกสาร ในอดีตขายดีที่สุดในโลก ผู้บริหารมีความพอใจใน State ของ
Growth จนทำให้ผู้บริหารละเลยคู่แข่งขัน (Canon) และไม่มีการพัฒนาสินค้าของตนเอง ทำให้คู่แข่งขันแย่งส่วน
แบ่งทางการตลาดและ Xerox เหลือ Market Share ไม่เกิน 20% ปัจจุบัน Xerox จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และแย่งส่วนแบ่งการตลาดคืน
การกำหนดภารกิจเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเชิงกลยุทธ์ การกำหนดภารกิจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตาม
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะต้องมีการ Redefine ภารกิจอยู่เสมอ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนหรือขยายกิจการ
และเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โดยต้องมีการกำหนดภารกิจขึ้นมาใหม่
ภารกิจมี 2 ประเภทคือ
1. ภารกิจที่กว้าง 2. ภารกิจที่แคบ
ภารกิจที่กว้าง ภารกิจที่แคบ
การบริการทางการเงิน
การท่องเที่ยว
การสร้างความบันเทิงภายในบ้าน
การประกันภัย
การโรงแรม
เครื่องเสียง
การ Design ภารกิจแคบเกินไป ทำให้เกิดการมองภาพในมุมแคบ
การ Design ภารกิจกว้างเกินไป จะทำให้ไม่สามารถ focus ภารกิจได้
การ Design ภารกิจที่เหมาะสมควรอยู่บนพื้นฐานของ Customer Oriented มากกว่า Product Oriented
เหตุผลเพราะจะทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่า
Case IBM ถ้ากล่าวว่า IBMทำธุรกิจ Computer – Product Oriented
ถ้ากล่าวว่า IBM ทำธุรกิจ ประมวลข้อมูล – Customer Oriented
ผู้ผลิตภาพยนตร์มองว่าตนเองทำธุรกิจสร้างภาพยนตร์ ถือว่าเป็น Product Oriented ทำให้มองข้ามสื่ออื่น ๆ
ไป เช่น CD เป็นต้น แต่ถ้าผู้ผลิตภาพยนตร์มองว่าตนเองทำธุรกิจบันเทิง ถือว่าเป็น Customer Oriented ซึ่งดีกว่า
บริษัทรถไฟ มองว่าตนเองทำธุรกิจรถไฟ – Product Oriented
แต่ถ้าบริษัทรถไฟ มองว่า ตนเองทำธุรกิจขนส่ง – Customer Oriented
*การรวม Vision เข้าไปในภารกิจเพราะจะสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจและจะเป็นการตอบคำถามว่าธุรกิจจะทำอะไร*
- CEO ที่มีความสำเร็จอย่างสูงจะมีทักษะที่จะแปล Vision ให้พนักงานเข้าใจและทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการ
ทำงาน
Case FedEx กำหนด Mission ว่า Oriented Document Delivery
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 3 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
บริษัทคอมพิวเตอร์กำหนด Mission ว่า Information Delivery
Theme ที่ IBM ต้องการสร้าง Mission ว่า Paperless Technology หมายถึงต้องการสร้าง
เทคโนโลยีที่ไม่ใช้กระดาษซึ่งก็จะเป็นปฏิปักษ์ต่อ Xerox ที่มี Mission ว่า Document Company
- บางครั้งผู้บริหารบางบริษัทกำหนด Crazy Vision (วิสัยทัศน์ประหลาด)
Case นาย Narita เจ้าของ Sony กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “Sony Walkman” และสามารถทำให้ Product ของ
ญี่ปุ่น (Made In Japan) ที่มีภาพพจน์ Low Quality ให้เป็น High Quality ได้
Case นาย Tat Tuner เจ้าของ CNN กำหนด Vision ว่า “ต้องการสร้างสถานีข่าว 24 ชม.” ซึ่งในขณะนั้นถือ
ได้ว่าเป็น Crazy Vision แต่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทำให้นาย Tat Tuner เป็นมหาเศรษฐีในปัจจุบัน
- ในปัจจุบันกลยุทธ์ในการทำ Merger กำลังเป็นที่นิยมมากทำให้ยุคหลัง ๆ ชื่อบริษัทมีความยาวขึ้น โดยการ Merger
กันนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของ Equal หรือความเท่ากัน แต่หลังจากการ Merge กันแล้วก็จะมีบริษัทหนึ่งขี่กันกับอีก
บริษัทหนึ่ง ซึ่งข้อดีของการ Merge ที่สำคัญก็คือ การลด Cost
ตัวอย่างการ Merger McDonald Dauglas กับ Boeing, Demler AG กับ Clysler,
AOL (American Online) กับ Times Warner
Case Honda ใช้ Core Business (Technology) คือ Engine Technology หมายถึง ใน
ผลิตภัณฑ์ของ Honda จะใช้เครื่องยนต์เป็นแกนหลัก
Concept ของวิสัยทัศน์คือต้องมีความฝันที่ปฏิบัติได้ บางครั้งผู้บริหารอาจจะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ Crazy
Vision วิสัยทัศน์ที่ประหลาดแต่บางครั้งก็ประสบความสำเร็จได้ เช่น นายโมริตะ กำหนดวิสัยทัศน์ของ Sony ว่า
ผลิตภัณฑ์ของ Sony ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ประชาชนด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น Sony Walkman
แนวความคิดต่อตัวเองหรือ Self Concept จะชี้ให้เห็นจุดแข็งที่บริษัทเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่ง
แนวความคิดต่อตนเองถือเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งของถ้อยแถลงทางธุรกิจ
ส่วนประกอบของถ้อยแถลงทางภารกิจที่ดี มี 9 อย่าง คือ
(6) 1 แนวความคิดต่อตัวเอง (Self Concept) จะชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งที่บริษัทใช้เป็นข้อได้เปรียบของบริษัท เช่น เซาท์
เวส์ทแอรไลน์ กำหนดว่าจะเป็นสายการบินที่มีต้นทุนต่ำสุด
(7) 2 ปรัชญา อุดมคติ ค่านิยม แรงบันดาลใจของบริษัท (Philosophy, Value) ควรถูกถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมา
(5) 3 Core Technology เทคโนโลยีพื้นฐาน บริษัทจะนำเทคโนโลยีพื้นฐานไปใช้กับบริษัทอย่างไร
(8) 4 การให้ความสำคัญกับบุคคล, ลูกจ้าง เช่น ควรปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างไร? (Concern for Employee) การ
เคารพต่อบุคคลจะเป็น Value ที่สำคัญของ IBM
Case IBM ให้ความสำคัญกับบุคคลเป็นเสมือนทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัท
(4) 5 Growth, Profitability, Survival การเจริญเติบโต การอยู่รอด การทำกำไร บริษัทผูกพันกับเป้าหมาย
เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
(3) 6 Market การแข่งขันระดับไหน? เช่น Boeing ต้องการเป็น Number 1 แสดงว่าบริษัทแข่งขันทั่วโลก
(2) 7 Customer คือ ใครเป็นลูกค้าของบริษัท
(1) 8 Product ควรระบุ Product ที่สำคัญของบริษัทว่าคืออะไร? ทำธุรกิจอะไร?
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 4 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
(9) 9 การให้ความสำคัญกับภาพพจน์ของบริษัท ให้ความสำคัญกับจริยธรรม, ความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น Johnson
& Johnson ยึดหลักการให้ความสำคัญต่อภาพพจน์ของบริษัทมาก บริษัทต้องดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและความ
รับผิดชอบต่อสังคมสูง
การกำหนดภารกิจ เป็นการกำหนด Moral หรือมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นมา เพราะจริยธรรมทางธุรกิจ
(Business Ethics) จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานทางศีลธรรม (Moral Standard)
จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง บริษัทต้องมีข้อผูกพันทางศีลธรรมที่แยกได้ว่าสิ่งไหนถูกหรือผิด หรือพฤติกรรมที่ได้รับ
การยอมรับของการทำธุรกิจ เช่น IBM จะให้ความสำคัญกับค่านิยมของจริยธรรมทางธุรกิจอย่างมาก
- บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายางสังคมเป็นอันดับแรก และให้ Profit เป็นอันดับรอง ปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่าง
ยิ่ง ตัวอย่างเช่น Body Shop คือ มีการจัดตั้งบริษัทเพื่อให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม และให้ความรับผิดชอบทาง
สังคมมาก่อน
Case Body Shop เป็นบริษัทเครื่องสำอางที่
1. Product ผลิตจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีและจากสัตว์
2. พยายามลดต้นทุนทางการตลาดด้วยการให้ Recycle, Reuse, Refill ผลิตภัณฑ์ Packaging ของ
บริษัท
3. สนับสนุนผลิตภัณฑ์จากประเทศโลกที่ 3 เช่น กระดาษสาจาก Nepal
ปัจจุบัน Body Shop ตกต่ำมากเนื่องจาก การลอกเลียนแบบเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีร้านเครื่องสำอางหลาย ๆ ร้าน
เลียนแบบ
Case McDonald เป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบทางสังคมสูงมาก เช่น McDonald นำกำไรส่วนหนึ่งไปสร้าง
McDonald House เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ต้องการมาพักเพื่อเยี่ยมผู้ป่วย หรือ การให้ทุนการศึกษากับผู้ยากจนไม่มีเงิน
เรียนหนังสือ เป็นต้น
- โดยทั่วไปถ้อยแถลงทางภารกิจจะเขียนในลักษณะเชิงพรรณนา ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนด Goal ขึ้นมา
Goal ที่ดีจะต้องกำหนด ดังนี้
1. ต้อง Specific Goal จะต้องวัดได้ และไม่กำหนด สูงสุด ต่ำสุด แต่ควรกำหนดเช่น เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด 10%,
ลดต้นทุนการผลิต 5%
2. ต้องเป็น Long Term Goal คือต้องบรรลุภายในระยะเวลามากกว่า 1 ปี (Long-Term Goal)
ดังนั้น การกำหนด Goal ต้องคำนึงถึงตัวที่เป็นตัวชี้วัด Goal ด้วย ซึ่งเรียกว่าดัชนี เพื่อวัดความพอใจของลูกค้า
Case FedEx มีการกำหนดดัชนีเพื่อชี้วัดความพึงพอใจลูกค้า 100% โดยกำหนดดัชนีคุณภาพบริการ 12 ตัว เช่น
1. จัดส่งตรงเวลา 2. ไม่สูญหาย 3. ……………. 12. …………………
เพื่อบรรลุดัชนีคุณภาพการบริการของ FedEx ที่มี Commitment ต่อ Product Quality ความสามารถ
ดีเด่นของบริษัทที่บริษัทมีคือ การจัดเส้นทางบินทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยจัดส่งพัสดุทั่วโลกได้ภายในข้ามคืน
ซึ่งเหนือกว่าคู่แข่งขัน
Case CEO ของ Motolora กล่าวว่า “If you can not measure, you can not control” หมายถึง
ถ้าคุณไม่สามารถวัดได้ คุณจะไม่สามารถควบคุมได้
Key Area ที่สำคัญในการกำหนด Goal ขึ้นมาเพื่อบรรลุความสำเร็จของภารกิจและวิสัยทัศน์ ต้องกำหนด 8 ด้าน คือ
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 5 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
1. การทำกำไร (Profitability) โดยทั่วไปจะใช้เครื่องวัดทางการเงิน เช่น ROE, ROI เป็นต้น เพื่อใช้วัดควมบรรลุ
เป้าหมายการทำกำไร
2. ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) เป็นปัจจัยที่ใช้วัดฐานะทางการแข่งขันโดยทั่วไป
บริษัท High Market Share Strong Competition
บริษัท Low Market Share Weak Competition
ข้อได้เปรียบของบริษัทที่เป็น High Market Share จะทำให้ cost ของบริษัทต่ำลง เนื่องจากใช้จำนวนการ
ผลิตที่มากทำให้ Material ต่ำลง (Economy of Scales)
3. นวัตกรรม (Innovation) บริษัทที่สร้างนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว
เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการอิ่มตัวหรือล้าสมัย ดังนั้น การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จะทำให้บริษัทเพิ่มความได้เปรียบทางการ
แข่งขัน
Case 3M กำหนด Goal 25% ของรายได้รวมจะต้องมาจากผลิตภัณฑ์ที่ถูกแนะนำเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และบริษัท
3M มีการผลิตสินค้าใหม่ ๆ ปีละ 100 ชนิด
Case Sony มี Superior Innovation (นวัตกรรมใหม่ ๆ) คือ Sony Walkman
Bush & Lomb มี Superior Innovation คือ Contact Lens
4. การเพิ่มผลผลิต (Productivity) เป็นการวัดประสิทธิภาพ คือ ถ้าผลิตได้มากขึ้นเท่าไรจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบถูกลง
โดยทั่วไปจะมีการวัดโดย Output per Worker ซึ่งวัดโดยผู้ใช้แรงงาน (Blue Collar Worker) ใน
ปัจจุบันจะต้องวัดที่คนทำงาน Office (White Collar Worker) ด้วย เพราะคนทำงาน Office ก็มีส่วนทำ
ให้ต้นทุนสินค้าสูงหรือต่ำด้วย
5. ทรัพยากรกายภาพ (Physical Resources) เป็นการ Manage physical Assets ให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด โดยทั่วไปหมายถึง ที่ดิน อาคาร แรงงาน และ การบริหารในระบบกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งกำลังการผลิตของโรงงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
Case Wall Mart มีการลดต้นทุนการกระจายสินค้า โดยสร้างศูนย์กระจายสินค้า แล้วสร้างร้านค้าปลีกโดยรอบศูนย์
กระจายสินค้าในรัศมีไม่เกิน 500 miles ซึ่งจะทำให้ส่งสินค้าได้ภายใน 24 ชม. ซึ่งศูนย์กระจายสินค้าจะมีขนาด
เท่ากับ 2 สนามฟุตบอล. ใช้สายพาน และระบบ Bar Code นอกจากนั้น Wall Mart จะมีการควบคุมทาง
การเงินอย่างเข้มงวด
6. ทรัพยากรการเงิน (Financial Resources) เป็นการบริหารทรัพยากรการเงินให้มีประสิทธิภาพ
Case Lincon เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องเขียนไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการประกันการจ้างงานระยะยาว แต่ภายในงบ
การเงินจะไม่ใช้การกู้ยืมเงินระยะยาว แต่ใช้ทุนตัวเองเป็นตัวขยาย เพราะการเสี่ยงภัยจากการกู้ยืมเงินระยะยาวจะสูงมาก
เป็นนโยบายทางการเงินแบบอนุรักษ์นิยม ใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ
- บริษัทที่ใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ จะมีการบริหารการควบคุมทางการเงินอย่างเข้มงวด
7. ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) โดยทั่วไปมองว่า บุคคลเป็น Source ของ competitive
Advantage ที่คู่แข่งขันจะลอกเลียนแบบไม่ได้ โดยทั่วไปบริษัทที่มีความสำเร็จสูง จะมีการบริหารบุคคลที่ดี
Case Southwest Airlines จะมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ทำงานหนัก ทำให้มีต้นทุนต่ำ เช่น การ Turn
Around ของเครื่องบินของ Southwest ประมาณ 15 นาทีทำให้เครื่องบินอยู่บนอากาศได้นานกว่าสายการบินอื่น ๆ
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 6 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
Case Bill Gate เชื่อว่าพลังทางสติปัญญาของบุคคลใน Microsoft เหนือกว่าคู่แข่งขัน
Case บริษัทดีเด่นใน USA จะเพิ่ม Productivity ในตัว People
8. ความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility) บริษัทจะต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม
บทที่ 2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท (Corporate Stakeholders) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มที่มีสิทธิหรือมีส่วน
ได้เสียกับบริษัท โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ภายนอก (External Stakeholders) ได้แก่ ลูกค้า Supplier รัฐบาล ประชาชนโดยทั่วไป
2. ภายใน (Internal Stakeholders) ได้แก่ ลูกจ้าง คณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้น
โดยทั่วไปจะ Manage ผู้มีส่วนได้เสียบนความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยน เช่น
- ลูกค้าสร้างรายได้ให้กับบริษัท และคาดหวังว่า บริษัทจะผลิตผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพดีเป็นการแลกเปลี่ยน
- ลูกจ้างให้ความรู้กับบริษัท และคาดหวังว่า บริษัทจะให้รายได้เป็นการแลกเปลี่ยน
- ผู้ถือหุ้นให้เงินลงทุนกับบริษัท และคาดหวังว่า บริษัทจะให้เงินปันผลเป็นการแลกเปลี่ยน
และโดยทั่วไปผู้มีส่วนได้เสียจะมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน (Conflict of Interest) เช่น เมื่อให้เงินเดือน
พนักงานมากขึ้น กำไรของบริษัทจะลดลง
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเรื่อง Stakeholders
1. ต้องระบุว่าผู้มีส่วนได้เสียคือใคร
2. เรียงลำดับ Priority ของผู้มีส่วนได้เสียตามลำดับความสำคัญ
3. ตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียตามความสำคัญ
Case Lincon ระบุผู้มีส่วนได้เสียโดยเรียงลำดับความสำคัญไว้ 3 กลุ่ม คือ
1. ลูกค้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียลำดับแรกสุด (First Priority)
2. ลูกจ้างเป็นผู้มีส่วนได้เสียลำดับที่สอง (Second Priority) จะได้รับรายได้สูงที่สุดภายในอุตสาหกรรม โดยเฉลี่ยอยู่
ที่ 40,000 – 50,000 เหรียญต่อเดือน
3. ผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียลำดับสุดท้าย เพราะเชื่อว่าตราบใด ผู้ถือหุ้นนำเงินมาลงทุนกับบริษัท เพราะบริษัทมีผลการ
ดำเนินที่ดี จะได้รับเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นทุกปี
เหตุผลคือ 1. ตราบใดที่ผู้ถือหุ้นนำเงินลงทุนมาลงกับบริษัทก็เพราะมีผลประกอบการดี และ Lincon เชื่อว่าบริษัทประสบ
ความสำเร็จสูงทำให้ Stakeholder ได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกัน
2. ลูกจ้างของ Lincon ได้รับค่าจ้างสูงที่สุดในอุตสาหกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- ค่าจ้างเป็นรายชิ้น
- Profit Sharing Bonus
3. ผู้ถือหุ้นแม้ว่าจะเป็นลำดับสุดท้ายแต่จะได้รับ Dividend ทุกปีแม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ดีก็ตาม
- เพราะฉะนั้นกล่าวได้ว่า Stakeholder เป็นผู้ที่บริษัทจะต้องรับผิดชอบ
- ปัจจุบันผู้ถือหุ้นถือได้ว่าเป็น Stakeholder ที่มีความสำคัญกับบริษัท ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกำลังเรียกร้อง Good
Corporate Governance หรือบรรษัทภิบาล ซึ่งถืออยู่บนรากฐานของการเป็นตัวแทน
ทฤษฎีการเป็นตัวแทน ต้องการ Separate เจ้าของออกจากการบริหาร
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 7 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
อย่างไรก็ตามในฐานะผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของ ก็ต้องการกระบวนการการตรวจสอบฝ่ายบริหารที่มีประสิทธิภาพ ใน
ปัจจุบัน กรรมการหรือ Board of Director กำลังถูกเรียกร้องให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ถึงแม้ว่า Board จะได้รับ
การแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นก็ตาม แต่ในความเป็นจริง กรรมการในบางครั้งอาจจะเป็นหุ้นเช็คของ CEO ซึ่งกรรมการของบริษัท
อาจมาจากกรรมการภายนอกและกรรมการภายใน (Management Directors)
- บริษัทใหญ่หลาย ๆ บริษัท CEO จะมีฐานะเป็น Chairman ของบริษัททำให้ CEO มีฐานะสูงขึ้น แต่โดย
หลักการที่เป็นเช่นนี้เพราะจะทำให้ CEO มีการบริหารงานที่คล่องตัวมากขึ้น
- Board จะเป็นกลไกที่ Common มากที่สุด แต่ในทางปฏิบัติ Board อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องจาก
Board ในบางองค์กรมี Benefit ที่ค่อนข้างดีมาก ทำให้ Board บางครั้งเป็นตรายางของ CEO
การกำกับดูแลบริษัทและ CEO นอกจาก Board แล้วยังให้การจูงใจแบบ Stock Compensation
หมายถึง การให้สิทธิในการซื้อขายหุ้นหรือการเล่นราคาหุ้นหรือการมีสิทธิในการบริหาร Option ของบริษัท
กลไกในการกำกับดูแลบริษัท (Corporate Governance)
1. Board of Committees กรรมการบริหาร
2. Stock Compensation การให้สิทธิ CEO ในการจูงใจด้วยหุ้น
3. Corporate Takeover การซื้อบริษัท เมื่อ CEO บริหารไม่ดีราคาหุ้นตก ก็จะมีคนเข้ามา Takeover ทำให้
CEO ถูกปลดออกอย่างไรก็ตาม CEO ก็สร้างหลักการเพื่อป้องกันการถูกปลดเรียกว่า Poison Pills มีหลาย
ประการ เช่น
- การจ่ายเงินปันผลให้สูงขึ้น
- การสร้างหนี้สินของบริษัทให้สูงขึ้น ทำให้ไม่มีผู้สนใจจะ Takeover
การ Takeover มักจะดูจาก Book Value มีมูลค่าสูงกว่าราคาหุ้น
ร่มชูชีพทองคำคือ โบนัสจำนวนหนึ่งที่เราให้กับบริษัทที่ถูกปลดออกจากงาน จากการถูกซื้อกิจการของบริษัท เป็น
เงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ในสัญญาจ้างงานที่บริษัทต้องปฏิบัติตามในกรณีที่เกิดการเลิกจ้าง
กรรมการภายนอกทำได้แต่เป็นการควบคุมนักการเงิน การควบคุมเชิงกลยุทธ์ทำไม่ได้
บทที่ 4 การวิเคราะห์ SWOT Analysis
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หมายถึง เราจะระบุปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสหรืออุปสรรค
ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส หมายถึงการแสวงหาผลประโยชน์
ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรค หมายถึงการคุกคาม
การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal Analysis) ปัจจัยภายในที่เป็นข้อได้เปรียบ
Case ในอุตสาหกรรมรถยนต์ของ USA พบกับอุปสรรคคือ รพยนต์ญี่ปุ่นเข้ามาตีตลาดถือว่าเป็นอุปสรรค (Threat)
และจุดอ่อนคือ บริษัทรถยนต์ของ USA ไม่สามารถผลิตรพยนต์ขนาดเล็กได้
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน โดยการรวบรวมและวิเคราะห์
การรวบรวม
1. การระบุว่าปัจจัยภายนอกและภายในมีอะไรบ้าง โดยแสวงหาโอกาสที่มองเห็น
2. ทำการแก้ไขจุดอ่อนที่มีอยู่ในบริษัท
3. ต่อสู้กับอุปสรรคที่คุกคามในบริษัท
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 8 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
Case หลายปีก่อน IBM มองเห็นโอกาสว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์จะมีการเจริญเติบโตที่สูงมาก
Case หลายปีก่อน Hatari มองเห็นโอกาสว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์จะมีการเจริญเติบโตที่สูงมาก โอกาสอยู่ที่เกม
คอมพิวเตอร์
การวิเคราะห์ภายนอก (External Analysis) เริ่มต้นจากสภาพแวดล้อมที่กว้างที่สุดก่อน
1. สภาพแวดล้อมของประเทศ (National Environment)
Case ทำไมบริษัทเคมีในระดับโลกอยู่ใน (Located) อยู่ใน Germany?
ทำไมบริษัทยาในระดับโลกอยู่ใน (Located) อยู่ใน Switzerland?
Case ทำไม Nokia บริษัทที่ผลิตมือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ใน Finland ประเทศเล็ก ๆ จึงประสบ
ความสำเร็จสูงสุดได้ มีสาเหตุจาก
- สภาพแวดล้อมไม่สามารถวาง Cable ได้
- ในฤดูหนาวมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือ
จะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้มีสภาพแวดล้อมให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันกับอุตสาหกรรม 4 ประการที่
พิจารณาความสำเร็จจากสภาวะแวดล้อมของประเทศ คือ
1.1. สภาวะของปัจจัย (Factors Conditions)
- ปัจจัยพื้นฐาน (Demand Factors) หมายถึง ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ทรัพยากร)
- ปัจจัยก้าวหน้า (Advance Factors) หมายถึง Infrastructure และ Technology
Factors, Technology Know How
Case ไนกี้ถูกผลิตโดย Supplier สั่งได้รับคือ Labor Cost อย่างเดียว คือข้อเสียเปรียบจากการที่เราไม่มี
Technology Know How
Case ญี่ปุ่นมีพื้นที่เท่ากับรัฐเล็ก ๆ ของ USA แต่มีอุตสาหกรรมในระดับโลก เพราะมีปัจจัยก้าวหน้าทางด้าน
Technology Know How
Case ไทยขาดทั้งปัจจัยพื้นฐาน และก้าวหน้า เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมจะต้องพัฒนาที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ก่อน ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมัน, เหล็ก และอุตสาหกรรมการต่อเรือ ซึ่งไทยไม่ได้พัฒนาปัจจัยด้านนี้เลย
นอกจากนั้นไทยยังขาด Technology Knowhow อีกด้วย
1.2. สภาวะของอุปสงค์ (Demand Conditions) อุตสาหกรรมใดก็ตามที่มีความเข้มแข็งทางด้านอุป
สงค์ อุตสาหกรรมนั้นก็จะประสบความสำเร็จ
Case ญี่ปุ่นมี Local Demand ทางด้านกล้องถ่ายรูปที่มีการพัฒนาใหม่อยู่เสมอ
1.3. อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุน (Retated and Supported Industrial) อุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ของอเมริกาประสบความสำเร็จอย่างมากเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุน
อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาก
Case อุตสาหกรรมรองเท้าของ Italy มีความเข้มแข็งเพราะมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก
1.4. กลยุทธ์โครงสร้างและการแข่งขัน (Strategy, Structure and Competitions) ทำให้เกิด
การ Improve คุณภาพและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆขึ้นมาอยู่เสมอ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ของอเมริกามีการ
แข่งขันกันสูงมากทำให้มีการปรับปรุงคุณภาพจนประสบความสำเร็จ
Y-MBA บางนา รุ่น 1 - 9 - Ramkhamhaeng University
พิมพ์และเรียบเรียงโดย…ลั้ง อภินันทนาการจากตี๋บุญส่ง
Case ในอดีตอุตสาหกรรมของ USA ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าญี่ปุ่นเพราะภูมิหลังของผู้บริหาร USA มาจากสาย
การเงิน ดังนั้น จึงมุ่งเน้นในการทำกำไรระยะสั้น แต่ญี่ปุ่นผู้บริหารมักมาจากวิศวกร ดังนั้น จึงมุ่งเน้นที่การ
Improve Process/Improve Quality ทำให้ต้นทุนการผลิตของญี่ปุ่นมีราคาถูกกว่า ทำให้ USA ต้อง
เสียความสามารถทางการแข่งขัน

รับทำวิทยานิพนธ์ งานวิจัย IS ค้นคว้าอิสระ

รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำ IS รับทําค้นคว้าอิสระ
โดยเน้นงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในระดับท้องถิ่่นและระดับประเทศ โดยจะได้รับคำแนะนำ ปรึกษา และช่วยเหลืองานวิชาการ ตั้งแต่การนำเสนอเค้าโครงงานวิจัย Research Proposal  และให้สามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างครบถ้วนตามระเบียบวิธีการวิจัยที่ถูกต้อง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Tel.083-543-7226,088-092-4937
email:thesiscity@gmail.com

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 3 การดำเนินงานในสภาพแวดล้อมทั่วโลก Operations in a Global Environment


บทที่
การดำเนินงานในสภาพแวดล้อมทั่วโลก
Operations in a Global Environment

Outline
-      Defining Global Operations
-      Why Global Op in location erations are Important
-      Achieving Global Operations
-      Global Issues in Service Operations

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน  Supply  Chain  Management
              1.  Sourcing  ดูแหล่งวัตถุดิบ  ถ้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ยิ่งใกล้แหล่งผลิต  ต้นทุนยิ่งต่ำ
              2.  Vertical  integration  การรวมธุรกิจในแนวดิ่ง  เช่น  ผลิตรถยนต์  ตัวผลิต  ต้องหาซื้อ
วัตถุดิบหลักหลายประเทศ ต้นทุนสูง  แต่ถ้าเกิดนิคมอุตสาหกรรมอยู่ใกล้กัน  ล้อ กระจก บังโคน  ซึ่งอยู่ในโซนเดียวกัน  ทำให้เกิดต้นทุนต่ำ
              3.  Make  or  buy  decisions  การตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขว่าจะผลิตเองหรือซื้อขึ้นอยู่กับต้นทุนที่เกิดขึ้นต่ำที่สุด  ถ้ามีอยู่แล้วเป็นโรงงานอุตสาหกรมอยู่แล้ว    เช่น  น๊อต โตโยต้าไม่ต้องผลิตเอง เพราะเจ้าอื่นผลิตไม่ได้  ผลิตขายโตโยต้าอย่างเดียว  Honda  Mitzu  ทำให้บริษัทนั้นเกิด  Economic of  Scale  ต้นทุนต่ำกว่า  ถ้าเราจะใช้  10,000  ตัว   เราควรจะซื้อดีกว่า
              4.  Partnering    พันธมิตร

การตัดสินใจเลือกสถานที่ตั้ง  Location  Decision
1.  Contry- related  issues
2.  Product – related issues
3.  Government  Plicy/Political  risk
4.  Organizational  issues
              ในโลกการผลิตแบบไร้พรมแดน  ต่างชาติเข้ามาลงทุนเริ่มตั้งแต่การก่อตั้งโรงงาน  ใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศไทย  การจ้างงานในเมืองไทย  เกณฑ์ในการเลือกโลเกชั่น  จะดูจาก
              1.  ภาพรวมของประเทศ  เช่น  ประเทศไทยเหมาะเพราะมีอาณาเขตติดต่อกับเอเชียใต้
              2.  ฐานผลิตภัณฑ์
              3.  นโยบายของรัฐบาล
              4.  มุมมองของธุรกิจที่อยากเข้ามาลงทุน
              ในปัจจุบันต่างชาติให้ความสำคัญในการย้ายฐานการผลิตออกนอกต่างประเทศเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะไทยได้เปรียบโดย  อาทิ  เช่น  คอลเกต ปาล์มโอลีพ  ผลิตที่ไทย  ขาย  11 ประเทศ  คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผลิตเยอะทำให้เกิดต้นทุนต่อขนาดที่ประหยัด  เกิดต้นทุนต่ำ

การจัดการวัสดุ  Materials Management
              1.  Flow of materials  การกระจายของวัตถุดิบ
              2.  Transportation options and speed การขนส่ง
              3.  Inventory Levels  ระดับของวัตถุดิบ
              4.  Packaging  การบรรจุภัณฑ์
              5.  Storage  การเก็บรักษาคลังสินค้า

การจัดการวัสดุทั่วโลกดูจาก
เหตุผลในการผลิตทั่วโลก
หลักในการสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานทั่วโลก 
(Achieving  Global  Operations four  considerations)
              -  การออกแบบผลิตภัณฑ์ทั่วโลก
              -  กำลังการผลิตทั่วโลก
              -  สินค้าคงคลังทั่วโลก

ความหมายของการดำเนินงานทั่วโลก  Defining Gloval  Operation
              1.  International  business – engages in cross-border transaction  ธุรกิจระหว่างประเทศดูอย่างเดียวเลยว่า  ทำธุรกิจผลิตสินค้าในประเทศหนึ่งได้เป็นสินค้าสำเร็จรูป   แล้วส่งไปขายต่างประเทศ  เช่น ดอกบัวคู่ผลิตในประเทศไทย ส่งไปขายในเขมร
              2.  Multinaitional Corporation-has extensive involvement in international business, owing or controlling  facilities in more than one country    จะเป็นการผลิตให้สอดคล้องกับโลเกชั่นจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามโลเกชั่น สิ่งแวดล้อมที่ที่ผลิต
              3.  Gloval Company integrates operations from different  countries and views world as a single market place  มองโลกทั้งใบให้เป็นตลาดเดียวกันคือสินค้าที่ผลิตออกมาสามารถขายได้ทั่วทั้งโลก
              4.  Transnational company-seeks benefits of y
Global-scale e
Efficience  benefits of local responsivenres  เป็นการเคลื่อนย้ายตัวธุรกิจเข้าไปในประเทศต่าง  ๆ  เปิดเป็นสาขาในประเทศนั้นๆ  เช่น  IBM  แต่รายรับทั้งโลกจะมากกว่าประเทศแม่ที่เป็นคนผลิตสินค้า

            1.  ลดต้นทุนการผลิต  ลดจาก ค่าแรง ภาษีศุลกากร  เช่น ลีวาย  ผลิตในอเมริกาค่าแรงสูง  ปัจจุบันย้ายไปอยู่จีน  ที่มีค่าแรงถูก 
            2.  ลดความเสี่ยง  ในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
            3.  การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน มี  Input  Process  Output
            4.  จัดหาสินค้าและบริการได้ดีขึ้น ขายของได้มากขึ้น ต่างชาติย้ายฐานการผลิต
            5.  หาตลาดใหม่
            6.  เรียนรู้การปรับปรุงการดำเนินงาน
            7.  การสร้างและรักษาทักษะในการดำเนินงานทั่วโลก

              1.  การออกแบบผลิตภัณฑ์ทั่วโลก
              2.  การออกแบบกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีระดับโลก  เช่น  ซีพี  ประสบความสำเร็จมาก  ขายไก่ ขายหมู  แปรสภาพไก่สดเป็นไก่ต้ม  ตามหลักศาสนาของตะวันออกกลาง 
              3.  การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งโรงงานทั่วโลก  เลือกจาก 
                   -  อัตราการรู้หนังสือของแต่ละประเทศเปรียบเทียบกัน จะได้ไม่ต้องเจอปัญหาในการสื่อสาร
                   -  อัตราการยอมรับนวัตกรรมใหม่  ๆ  ที่เกิดขึ้น
                   -  ลักษณะภาษา 
              4.  ผลกระทบของวัฒนธรรมและจริยธรรม  Impact  of culture and  Ethics  เช่น  ไนกี้ 
ที่ลอกเลียนแบบ  พิซซ่าฮัท  พิซซ่าคอมเพนี  เกิดปัญหาแล้วแยกตัวทำให้เกิดการเป็นคู่แข่งกันมากขึ้นด้วย


บทที่ 2 กลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อการได้เปรียบในการแข่งขัน


บทที่ 2 
กลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อการได้เปรียบในการแข่งขัน
Out  line   
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
 
Mission/Strategy
การกำหนดกลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ใช้ 3 กลยุทธ์  ต้องคูณ 10 เพราะ  ประกอบด้วย  10  กลยุทธ์ 
กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้ามี  3  *10  คือ
Trategy  & Issues  Dunny  Product  Life

            -  การกำหนดภารกิจ  (Missionและกลยุทธ์  (3+10)
            -  การได้เปรียบในการแข่งขันโดยใช้การผลิตและการดำเนินงาน
            -  หลัก 10  ประการของ OM ในการกำหนดกลยุทธ์
            -  กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
            -  การพัฒนาและการปฏิบัติตามกลยุทธ์
            สามารถกำหนด
              -  Mission
              -  Strategy
              -  Ten Decision  of  ฯลฯ
              ExPlain 
              -  Differentiation
              -  Low  cost
              -  Response

              -  Mission  วิสัยทัศน์  คือสิ่งที่ธุรกิจอยากจะเป็น โดยผู้จัดการฝ่ายผลิตจะมองถึงวิธีการใน
การผลิตข้างหน้าในอนาคต   มี  3  ระดับ  คือ
                   -  Top Manament
                   -  Business  Manament   กลุ่มลูกค้าซีพี  ทำอะไรบ้าง  ขายอะไรบ้าง
                   -  Function  หน้าที่  เช่นหน้าที่ทางการตลาด การผลิต มีหน้าที่อะไรบ้าง  เป็นระดับที่ยากที่สุด
              -  ศักยภาพในการผลิตจะวัดจาก  SWOT  คือการวิเคราะห์การผลิต  แยกเป็น  2  ส่วนคือ
                   -  ปัจจัยภายใน
                        -  S    คือ  จุดแข็ง 
                        -  W   คือ  จุดอ่อน
                   -  ปัจจัยภายนอก
                        -  O  คือ โอกาส เป็นสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้  มีผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตในด้านดี 
                        -  T  คือ  อุปสรรคเป็นสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้มีผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตด้านไม่ดี
              -  Strategy

            ปัจจัยภายในด้านการผลิตที่ควบคุมได้ ให้วิเคราะห์  3(Input  Process  Output) +10  (หลัก  10  ประการวิเคราะห์แต่ละตัว  แล้วดูว่ามีจุดอ่อน  จุดแข็งอย่างไร  เช่น    วัตถุดิบราคาสูง  การออกแบบสินค้าใหม่  การจะบอกดีหรือไม่นั้น  ให้ดูที่ผลการดำเนินงานว่ามีผลออกมาอย่างไร  ถ้าดี จะเรียกว่าจุดแข็ง แต่ถ้ามีปัญหา  หรือไม่ดี  เกิดจุดอ่อนในองค์กร  การกำหนดวิสัยทัศน์ของกิจการคือ  การใช้จุดแข็งไปสร้างเป็นโอกาส  ลดจุดอ่อน  และกำจัดอุปสรรค  
              -  หากมองย้อนในอดีต  ตัว SWOT  อาจจะดีในอดีต แต่อาจจะมีปัญหาในอนาคต  เราจะใช้ SWOT  อย่างไรให้ได้ขายดีในปีนี้ด้วย
              -  กิจการเดียวกัน เวลาเดียวกัน  การวิเคราะห์ SWOT ต่างกันด้วย
              -  SW     เป็นปัจจัยภายนอก   OT   เป็นปัจจัยภายใน

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดภารกิจ  (Factor  Affecting  Mission)
              กลยุทธ์  คือ  วิธีการที่ไม่ปกติที่สามารถทำให้บรรลุสิ่งที่เราต้องการในการผลิตและสอดคล้องกัน  และเกิดต้นทุนต่ำที่สุด  เช่น  สมมติว่าเราจะผลิตหน้าต่างออกมาขายต้องดูรูปแบบการผลิตของบริษัท  ด้วยว่าการจะผลิตอะไร  ควรอยู่ใน Line  เดียวกับผู้ประกอบการเดิม  เช่น  IBM  มีการผลิตสินค้าเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยี  เป็นไปได้หรือไม่ว่าวันหนึ่งหาก  IBM  เปลี่ยนไปผลิตกระดาษชิชชู่  ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้  เพราะไม่สอดคล้องกับธุรกิจเดิม

กระบวนการกลยุทธ์  (Strategy  Process)
              ถ้าเรากำหนดกลยุทธ์การผลิตต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ตลาดกับกลยุทธ์การเงินด้วย  เช่น  วิเคราะห์งบการเงิน  ซึ่งมี  3  ส่วน  คือ  สินทรัพย์ หนี้สิน  ทุน  ถ้ามีสินทรัพย์เยอะแสดงว่าต้องดูที่เงินสด  ถ้าเยอะดี  แต่สินค้าคงเหลือเยอะไม่ดี  แสดงว่าการกำหนดกลยุทธ์  3  ระดับ แสดงว่ากลยุทธ์ระดับสุดท้าย  Functional ไม่ได้ดูด้านการเงิน  การตลาด  การผลิต 
              เราจะกำหนดกลยุทธ์ได้เราต้องวิเคราะห์  SWOT  เพราะ SWOT  จะเป็นตัวกำหนด  Corpergency  ของผู้ผลิต  กำหนดศักยภาพของเราในการผลิต  กำหนดโดย
              1.  ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยที่เราควบคุมได้  คือ 3+10  ถ้าดี คือจุดแข็ง ไม่ดี  คือจุดอ่อน 
ซึ่งสามารถนำไปกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมาย  วัตถุประสงค์  และกลยุทธ์
              2.  ปัจจัยภายนอก  คือ  ปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้  แต่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเรา
ถ้าปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้  มีผลดีต่อกิจการของเรา  เรียกว่าเป็นโอกาส  ถ้าไม่ดีเรียกอุปสรรค
           การทำ SWOT
                   1.  เอาจุดแข็งไปทำเป็น  โอกาส
                   2.  ลดจุดอ่อน
                   3.  ต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรค

การได้เปรียบในการแข่งขัน  (Competitive  Advantage  Through)
              1.  การสร้างความแตกต่าง       Didderentiation
              2.  ต้นทุนต่ำ    Low  Cost
              3.  การตอบสนองความต้องการของลูกค้า  Respone
              ทั้งหมดเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

              1.  การสร้างความแตกต่าง  ผลิตอย่างไรให้ต่างจากคู่แข่ง  แตกต่างด้านคุณภาพ  การออกแบบต่าง  ๆ  กำลังการผลิตต่าง  ๆ วัตถุดิบ  เช่น  ปัจจุบันเน้นที่ปัจจัยการผลิต  อาทิ  เปา  ปัจจุบันขายดีมาก  เพราะตัว  Input  ของเปาเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการซักผ้าของผู้บริโภค  กรุงเทพไม่กล้าตากผ้ากลางสนามเพราะฝนตก  ต้องตากโรงรถ สร้างความแตกต่างทำให้ผู้บริโภคชอบ  เช่น แชมพูเดิม ๆ ไม่สามารถขายสู้ซันซิลได้  แต่เป็นสินค้าใหม่อยากขายได้ต้องสร้างความแตกต่าง  เช่น โดฟ  ให้คอนเซฟ คือ ผมนุ่มลื่น  เป็นความแตกต่างที่ดี  ที่แตกต่างแล้วไม่เกิดการซื้อ  เช่น วาสลีน สร้างโลชั่นเฉพาะที่  ทำให้เกิดความสับสนในการใช้ 
           2.  ต้นทุนต่ำ   ต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน  โดยกาผลิตแบบ Economic  of  Scales
การประหยัดต่อขนาดในการผลิต พยายามผลิตอย่างไรก็ได้ให้มีสินค้ามากที่สุด  เช่น Bata  ซื้อเครื่องจักรที่ผลิตรองเท้าได้วันละ  50,000  คู่  ถามว่า Bata  ผลิตได้หรือไม่  ได้ แต่ไม่ผลิตเพราะคนไม่ซื้อรองเท้าถึงวันละ  50,000  คู่  แต่ถ้า  บาจาเอาต้นทุนต่ำ ต้องผลิตโดยการรับจ้าง  ไม่ว่าจะเป็น  ไนกี้  รีบอก  อีกทั้ง
การผลิตใกล้แหล่งวัตถุดิบ  ใกล้ลูกค้า ก็เป็นการลดต้นทุนให้ต่ำด้วย
           3.  การตอบสนองความต้องการของลูกค้า  อะไรก็ตามลูกค้าต้องการทำให้ลูกค้าได้หมด เช่น  ธนาคาร  ถ้าลูกค้ารับบริการที่เร็วเพียงใด  ผู้ผลิตย่อมเกิดต้นทุนสูงขึ้น ถ้าเรามีพนักงาน 1 คน ลูกค้า  คน  แสดงว่าเรามีต้นทุนเกิดขึ้นทันที  แต่ถ้าเป็น  Respond  คือลูกค้ามีสิทธิ์รอคอยพนักงาน
           ถ้าเราสร้างความแตกต่าง  ลดต้นทุนต่ำ  ตอบสนองหรือได้รับบริการที่ดี  รวดเร็วกว่าคู่แข่งขัน  ถือว่าประสบความสำเร็จแต่ถ้าต้นทุนต่ำ  คุณภาพต่ำด้วย  ถ้าเราเกิดอยากได้คุณภาพดี  ต้นทุนต่ำการตอบสนองของ
              ผู้บริโภคช้า  บริษัทเดียวในโลกที่สามารถทำได้ทั้ง  3  ข้อ  ในโลกมีเพียงบริษัทเดียวคือ โตโยต้าเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพ  ต้นทุนต่ำกว่า  ออกแบบสินค้าตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่ง  เพราะเดิมการออกแบบสินค้าใหม่ทุกยี่ห้อจะมีการออกแบบสินค้าใหม่  ทุก  4  ปี  เพราะ
              1. ไฟแนนซ์ให้ผ่อนทุก  ๆ 4ปี  พอผ่อน  4  ปีครบ  ก็มีรูปแบบใหม่  แต่โตโยต้าเป็นตัวแรกที่มองเห็นว่าควรมีการออกแบบสินค้าใหม่ทุก 2 ปี  อาจเปลี่ยนไฟท้าย เพิ่มเบาะ  ล้อแมก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำให้ลูกค้าอยากเปลี่ยนรถ  (กลยุทธ์ต้องประกอบด้วย 3+10  กลยุทธ์)

              1.  การจัดการคุณภาพ      (Managing  Quality)
              2.  การออกแบบสินค้าและบริการ  (Design  of goods and  Service)  
              3.  การออกแบบกระบวนการและกำลังการผลิต  Process  and  capacity  design 
              4.  กลยุทธ์ทำเลที่ตั้ง   Lacation  Strategies
              5.  กลยุทธ์การเลือกแบบผังโรงงาน    Layout  Strategies
              6.  การออกแบบงานทรัพยากรมนุษย์  Human resoures  and  job  Design
              7.  การจัดการเครือข่ายปัจจัยการผลิต  Supply Chain  management
              8.  การจัดการสินค้าคงคลัง   Inventory  management
              9.  การกำหนดตารางการผลิต  Scheduling
              10.การบำรุงรักษา    Maintenance

              กลยุทธ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะ
                   -  องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเมื่อผลิตสินค้า+บริการ  ดูในส่วนของ Product  Life  Cycle (วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มี  1  วงจร  4  ระยะ   
                        1.  ช่วงแนะนำ                               2.  ช่วงเจริญเติบโต
                        3.  เจริญเติบโตเต็มที่                      4.  ถดถอย
              ช่วงที่อันตรายที่สุดคือ  เจริญเติบโตเต็มที่ ถ้าไม่ทำอะไรสักอย่างสินค้าก็จะเข้าไปอยู่ในช่วง
ถดถอย  เช่น  น้ำส้ม  อสร.  ไม่ทำอะไรอะไรก็ไม่มีอะไร คนก็ซื้อน้ำส้ม  แต่ทำไมต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพราะ  อสร.ไม่ต้องการอยู่ในช่วงเจริญเติบโตเต็มที่  นานๆ  ตัวเองต้องตกในช่วงถดถอย  ทุกคนอยากอยู่ในช่วงแนะนำและเจริญเติบโตเพราะทำให้เรารู้สึกว่าการผลิตเป็นการผลิตแบบเต็มความสามารถ  ถ้ามีการผลิตทีมี Product Life  Cycle  ที่แตกต่างกัน  เราจะมีวิธีการผลิตอย่างไร  กลยุทธ์การผลิตจะเปลี่ยนแปลงเมื่อสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง  ผลิตสินค้าออกมาแล้วต้องผลิตโดยการใช้สินค้าที่รักษาสภาพแวดล้อมของตลาด 

              1.  Different                   2.  Low  Coset                    3.  Respond    ใช้โดย 10  ตัวด้วย
              เมื่อกำหนดกลยุทธ์แล้วเราสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ได้โดยดูจาก
                   -  องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง
                   -  วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เปลี่ยน
                   -  สภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน

              -  ในการผลิตในแต่ละช่วงของ  Product  Life  Cycle  จะมีวีการใช้กลยุทธ์แต่ละช่วงแตกต่างกันอย่างไร  ปกติมี 3  ระดับ
              1.  Comperest  Lavel
              2.  Business  Lavel
              3.  Function  Lavel
              โดยดูจากกลยุทธ์ขององค์กรเป็นหลักและกลยุทธ์การผลิตต้องสอดคล้องกัน โดย
              ช่วงแรก  ผลิตสินค้าออกมาอยู่แสดงว่าสินค้าที่ผลิตมาเป็นสินค้าใหม่  ผู้บริโภคยังไม่รู้จัก 
ทำอะไรก็ได้ให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความต้องการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เราผลิต ใช้กลยุทธ์ที่ไม่ปกติและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด   (Market  Chair)  โดยวัดจากยอดขาย  แสดงว่ายอดขายจะเกิดเมื่อผู้บริโภครู้จักสินค้าของเรา และต้องซื้อสินค้าของเราด้วย ถ้าเกิดซื้อแล้วยอดขายไม่เพิ่มเราต้องทำการ  Modifly  ใหม่
              Change  เปลี่ยนไปแล้วดีก็ได้ไม่ดีก็ได้
              Develop      เปลี่ยนไปแล้วเราคาดหวังว่าต้องดี
              การผลิตมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องสำคัญในช่วงแรกเพราะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ส่วนประสม  ส่วนประกอบ  ฝ่ายผลิตต้องเข้าไปดูว่า  Input  มีความเหมาะสมหรือยัง 
              -  ในช่วงแรกต้องผลิตสินค้าเยอะ ๆ  เพราะเป็นการลดต้นทุนการผลิต
              -  การออกแบบตัวผลิตภัณฑ์  เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

บทที่ 1 ความหมายการผลิตและการดำเนินงาน


บทที่  1

 ความหมายการผลิตและการดำเนินงานความหมายของการจัดการและการดำเนินงานประวัติในส่วนของการผลิตต้นทุนมี  3  ประเภทหลัก 10  ประการสำหรับการจัดการผลิตและการดำเนินการ 


              1. ความหมายของการจัดการผลิตและการดำเนินงาน       
              2.  ประวัติของการจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
              3.  เหตุผลในการศึกษาของการจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
การผลิต  หมายถึง  การสร้างสินค้าและบริการ
การจัดการในการดำเนินงาน (Operation Management)  หมายถึง  กระบวนการในการสร้าง
              สินค้าและบริการโดยการพิจารณาตั้งแต่กระบวนการของปัจจัยการผลิต(INPUT) จนกระทั่งแปรสภาพกลายเป็นผลผลิต  (OUT PUT)
              Eli Whitney
-      เกิด 1765  ตาย 1825
-      ในปี 1798  รับจ้างรัฐบาลในการผลิตปืนจำนวน  10,000  กระบอก
-      การผลิตชิ้นส่วนให้ได้มาตรฐาน 
              เดิมการผลิตเป็นแบบตามคำสั่ง  ทำเอง  3  ขั้นตอน  แต่ Eli ใช้การผลิตให้ได้มากที่สุด  เช่น  ถ้าพัดลมแตก  ปัจจุบันมีอะไหล่  อุปกรณ์ออกมาขายแล้ว  ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่
  Frederick  W Tayler
-      เกิด  1856  ตาย  1915
-      บิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์
ในปี  1881  เป็นหัวหน้าวิศวกร  ทำการศึกษาวิธีการในการทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยใช้
     1.  การจัดคนให้เหมาะสมกับคนงาน  Put the ringh  man  in the right job จัดคนให้เหมาะ
สมกันงานแล้วทำการเทรนงาน  ฝึกอบรมให้  เน้นคนกับเครื่องจักร
                   2.  การฝึกอบรม
                   3.  การจัดหาวิธีการทำงานและเครื่องมือที่เหมาะสม
                   4.  การสร้างแรงจูงใจ

              Henry  Ford  (เจ้าของยี่ห้อรถยนต์  ฟอร์ด
-      เกิด 1863  ตาย  1947
-      In 1903 Created Ford  motor  computer
-      In 1913  Find used mamy assembly  Ime to make Model T
-      Paid  worker very well for  1911
-      ใช้พนักงานคนเดิมในการผลิตรถยนต์
-      กำหนดทักษะของคนในการทำงานซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญทำให้เกิดทักษะ ความชำนาญ ก่อให้เกิดต้นทุนต่ำ
           W. Edwards Demming
              - Born  1900  Died  1993
              -  Engieer  &  Physieist
              -  Credited with teaching  Japan  quality  control  methods in post Wwa
              -  Used  Statisties to analyze process
              -  His  methods  involue  workers in decisions

เหตุการณ์สำคัญของ OM
              -  การแบ่งงานกันทำ  Division of  laver  (Smith  1776) เริ่มมี  4  ขั้นตอน จัดเป็นกลุ่มให้ทำงานเดิมซ้ำ ๆ  ให้เกิดทักษะ
              -  ชิ้นส่วนมาตรฐาน  Standardized parts (Whitney,1800)  เริ่มซื้อน๊อต ผลิตรถยนต์ 1 คัน การมีชิ้นส่วนมาตรฐาน ทำให้ต้นทุนต่ำ
              -  การจัดการวิทยาศาสตร์ Scientific Management (Taylor 1881)    คนเป็นปัจจัยการผลิตมีความสำคัญมากที่สุด
              -  สายการประกอบชิ้นส่วน  Ordinated assembly  line (Ford 1913)
              -  แผนภูมิ       Gantt Gatt Charts (Gantt 1916)
              -  การศึกษาการเคลื่อนไหว  Motion  study (The Gilbroths 1982)
              -  การควบคุมคุณภาพ  Quality Control (Demming)  เพราะตัวปกติในการทำการเข้าใจในเรื่องควบคุมเหมาะกับญี่ปุ่น
              กำไรเกิดจาก  TR - Tc
              TR     =   มาจาก  P*Q
              TC          =  เป็นต้นทุนผลิตที่มากที่สุด ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายการผลิต


              1.  ต้นทุนคงที่
              2.  ต้นทุนผันแปร
              3.  ต้นทุนค่าเสียโอกาส

หน้าที่ของผู้จัดการฝ่ายการผลิตอละการดำเนินการ (Manangement)
              -  การวางแผน (Plan)                      -  การจัดโครงสร้าง (Organize)
              -  การสรรหา  (Staff)                       -  การชักนำ (Lead)
              -  การควบคุม  (Control)
การวางแผนการผลิตจะเริ่มต้นจากการหาข้อมูลแล้วใช้ข้อมูล  3+10  แต่ถ้าหากแผนไม่สอดคล้อง
ให้ปรับ     1.  การวางแผน
              2.  การปฏิบัติ
              3.  การประเมิน
              1.  การจัดการคุณภาพ      (Managing  Quality) ผู้กำหนดคุณภาพคือผู้ผลิต  กำหนดจากวัตถุดิบ กับผู้บริโภค  ใช้ความพึงพอใจของลูกค้า
              2.  การออกแบบสินค้าและบริการ  (Design  of goods and  Service)  เช่นในสมัยก่อนที่มี
การผลิตกระจกที่ไม่แข็งแรง  เวลาที่อะไรหล่นก็แตก  แต่ปัจจุบันมีการออกแบบสินค้าที่มีความทนทานมากขึ้น
              3.  การออกแบบกระบวนการและกำลังการผลิต  Process  and  capacity  design  คือการผลิต
เท่าไหร่จึงจะดี  ให้เกิดจุดคุ้มทุน  จุดคุ้มทุนหาได้โดย    
              TFC  =  ต้นทุนคงที่            P  =   ราคาขาย          C=  ต้นทุนต่อหน่วย
              4.  กลยุทธ์ทำเลที่ตั้ง   Lacation  Strategies
              5.  กลยุทธ์การออกแบบผังโรงงาน    Layout  Strategies
              6.  การออกแบบงานทรัพยากรมนุษย์  Human resoures  and  job  Design
              7.  การจัดการเครือข่ายปัจจัยการผลิต  Supply Chain  management
              8.  การจัดการสินค้าคงคลัง   Inventory  management
              9.  การกำหนดตารางการผลิต  Scheduling
              10.การบำรุงรักษา    Maintenance

สินค้า
บริการ
สินค้าขายซ้ำได้   
บริการขายซ้ำได้ยาก  เช่นร้านตัดผม
สินค้าเก็บรักษาได้    
บริการยากต่อการเก็บรักษา
สินค้าสามารถวัดได้ 
บริการยากต่อการวัด
สินค้าผลิตไว้ขายได้ 
บริการยากต่อการผลิตไว้ขาย
สินค้าขนส่งได้    
บริการขนส่งไม่ได้
สินค้าต้องมีสถานที่ในการผลิต
บริการอาจมีสถานที่ในการผลิตหรือไม่ก็ได้
สินค้าง่ายต่อการผลิตแบบอัตโนมัติ                            
บริการยากต่อการผลิตแบบอัตโนมัติ
สินค้ามีรายได้จากสิ่งทีมีตัวตน  จับต้องได้                   
บริการมีรายได้จากสิ่งที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้